ขุดเสาเข็ม ฟุตติ้ง ตอม่อ กับ ธีรพงษ์ ไม่มีผิดหวัง

    ฟุตติ้ง เสาเข็ม

บริการงาน ฟุตติ้ง ราคากันเอง

งาน ฟุตติ้ง(Footing) หรือเรียกว่า งานฐานราก มีหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมด แล้วถ่ายทอดลงสู่เสาเข็ม คุณสมบัติทีต้องมีคือ สามารถรองรับน้ำหนักได้มาก โดยไม่เกิดการเคลื่อนตัว หรือพังทลาย หากนึกถึงงานขุด ฟุตติ้ง ตอม่อ ฟุตติ้ง เสาเข็ม ฟุตติ้งรั้ว ฟุตติ้งเสาโรงรถ ลองติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาได้ตลอดเวลา โดยปกติแล้ว งานฐานราก หรือ footing จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ฐานรากตื้น (Shallow Foundation) คือแบบไม่มีเสาเข็มรองรับ ฐานรากลึก (Deep Foundation) คือแบบมีเสาเข็มรองรับ สิ่งที่มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของ ฟุตติ้ง คือ 1. ความแข็งแรงของตัวฟุตติ้งเอง 2. ความสามารถในการแบกรับน้ำหนักของดินที่อยู่ข้างใต้ฟุตติ้ง 3.การทรุดตัวของดินใต้ฟุตติ้ง ควรเกิดขึ้นได้น้อย และใกล้เคียงกันในทุกฟุตติ้ง

    ฟุตติ้งรั้ว

ประเภทของฟุตติ้ง ทั้งแบบฐานรากตื้น และฐานรากลึก แต่ละชนิด

มีลักษณะของการก่อสร้าง และความสามารถในการรับน้ำหนักที่แตกต่างกันดังนี้ 1. ฐานรากแผ่เดี่ยว (Spread Footing) หมายถึงฟุตติ้งที่รับน้ำหนักจากเสาอาคาร เพียงต้นเดียว แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่พื้นดิน ความหนาของตัวฐานต้องสามารถต้านทานโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนได้อย่างเพียงพอ และสามารถป้องกันการกัดกร่อนตัวเหล็กเสริมเนื่องจากความชื้น ในบางกรณีที่เสาอาคารไม่วางอยู่บนศูนย์กลางฐานราก เช่นอยู่ติดเขตที่ดินอาจถูกออกแบบให้เสาวางอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของฐานราก เราเรียกว่าฐานรากแบบนี้ว่า ฐานรากตีนเป็ด 2. ฐานแผ่ร่วม (Combined Footing) เป็นการออกแบบฐานรากเพื่อแก้ปัญหากรณีไม่สามารถสร้างฐานรากเดี่ยวที่สมมาตรได้ ซึ่งฐานรากที่ไม่ สมมาตรนี้เมื่อรับน้ำหนักที่ถ่ายลงบนฐานไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงเยื้องศูนย์ อาจทำให้อาคารทรุดตัวได้ 3. ฐานรากชนิดมีคานรัด ( Cantilever Footing ) เป็นการออกแบบฐานรากเพื่อแก้ปัญหากรณีไม่สามารถสร้างฐานรากที่สมมาตรได้อีกวิธีหนึ่ง เหมาะกับเสาของอาคารที่มีความจำเป็นต้องสร้างประชิดติดกับอาคารเดิม หรือแนวเขตดินที่ไม่สามารถวางตาแหน่งของฐานให้ ตรงกับแนวเสาตอม่อได้ จึงออกแบบให้มีคานคอนกรีตแบกรับน้ำหนักจากเสาตอม่อ 4.ฐานรากแพ (Mat or Raft Foundation) เป็นฐานร่วมขนาดใหญ่ใช้รับน้ำหนักบรรทุกของเสาหลายๆ ต้น โดยจะแผ่บนพื้นที่กว้างๆ บางครั้งจะใช้รับน้ำหนักบรรทุกของเสาทุกต้นของอาคารก็ได้โดยมากแล้วเราจะใช้ฐานแพกับอาคารสูง ข้อดีของฐานรากชนิดนี้เมื่อเทียบกับฐานรากเดี่ยวคือ กระจายน้ำหนักสู่ดิน หรือหินเบื้องล่างได้ดีกว่า และปัญหาการทรุดตัวต่างระดับแทบหมดไป เพราะฐานรากชนิดนี้มีความต่อเนื่องกันตลอดโยงยึดกันเป็นแพ แต่การก่อสร้างจะยุ่งยาก และสิ้นเปลือง. แหล่งข้อมูล – สาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่

ผลงาน งานฟุตติ้ง ทั้งหมด

ตัวอย่างงาน งานฟุตติ้ง ล่าสุดที่เราได้ทำ สามารถดูรายละเอียด หรือผลงานล่าสุดเพิ่มเติมได้ตามลิงค์ด้านล่าง