กำแพง กันดิน เสริมด้วยสเตย์

กำแพง กันดิน สเตย์ ราคาเท่าไหร่?

กำแพงกันดินสเตย์มีวิธีการสร้างยังไง?

วันนี้ทีมงาน ธีรพงษ์ เซอร์วิส ได้สร้างกำแพง กันดินสเตย์ เสร็จเรียบร้อย ซึ่งจะทางทีมงานจะมานำเสนอ หรือเล่าให้ฟังถึงวิธีการสร้างเขื่อนกันดินแบบสเตย์ ว่ามีวิธีการทำงาน หรือการก่อสร้างที่นิยมกัน มันเป็นแบบใด

กำแพงกันดินมุมสูง-1

รูปมุมสูงกำแพง กันดิน

 

ก่อนอื่นเลยทำไมราคาของกำแพงกันดินถึงมีลักษณะที่แตกต่างกัน

สิ่งที่ผู้รับเหมาจะประเมินราคาของกำแพงกันดินนั้น มักจะดูจากลักษณะของพื้นที่บริเวรณนั้นเป็นหลัก คือลักษณะของดิน ลักษณะทางเข้าของพื้นที่ ซึ่งจำเป็นต้องมีการนำเครื่องจักรเข้าพื้นที่ ลักษณะของดินใต้พื้นน้ำ เป็นต้น ซึ่งงานกำแพงกันดิน ที่ซอยไทรม้านี้ สิ่งที่เป็นอุปสรรค ในการทำงานอย่างยิ่งคือ 

1. หินที่อยู่บริเวณใต้น้ำทำให้การกดเข็มไอ หรือเข็มไมโครไพล์เป็นไปด้วยความยากลำบากต้องใช้รถแบคโฮเคลียหินในบริเวณนั้นทุกต้น ก่อนการกดเสาเข็ม ซึ่งทำให้การดำเนินการค่อนข้างไปด้วยความล่าช้า

เศษหินใต้น้ำ

รูป เศษหินใต้น้ำ

 

 

2. ดินบริเวณหน้างานมีลักษณะถูกถมมาไม่ได้ กล่าวคือ ไม่มีการบดอัดก่อน ซึ่งทำให้รถแบคโฮไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้โดยตรง ต้องมีการปูแผ่นเหล็กรองล้อรถแบคโฮก่อน ซึ่งรายละเอียดของการถมดิน สามารถคลิ๊กได้ ที่นี่

แบคโฮ

รูป แบคโฮเดินบนแผ่นเหล็ก

3. และลำดับสุดท้าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ คือพายุ ลม ฝน ซึ่งจะทำให้การดำเนินการมีการหยุดชะงักลง

 

แบบกำแพงกันดิน

รูป แบบกำแพง กันดิน

 

 

 

ส่วนวิธีการสร้างกำแพง กันดิน คือ

 

 

1. ดำเนินการกดเสาเข็มลงพื้น เพื่อวางแผ่นเสียบสำหรับรองรับดินที่มาจากด้านข้างซึ่งจะเป็นเข็มหลักที่คอยรองรับแรง โดยเข็มที่เราใช้ในงานนี้จะเป็นเข็มไมโครไพล์ แบบไอขนาด 18 เซนติเมตร ยาว 10 เมตร ซึ่งเสาเข็มนี้จะถูกกดลงจากพื้นประมาณ 8-9 เมตร

กำแพงกันดิน ด้านหน้า

รูป ด้านหน้ากำแพงกันดิน

 

2. ดำเนินการกดเข็มสเตย์ เพื่อใช้เป็นที่สำหรับยึดตัวกำพงกันดินไว้ เพิ่มความแข็งแรงของตัวกำแพงกันดิน ถ้ากำแพงกันดินใด ไม่มีสเตย์ ก็มักจะทำให้ตัวกำแพงล้ม โดยใช้เข็มไมโครไพล์ แบบไอขนาด 18 เซนติเมตร ยาว 10 เมตร เช่นกัน และจะกดลงจากพื้นประมาณ 9 เมตร และห่างจากเสาเข็มหลักของตัวกำแพงประมาณ 1.50 เมตร

แนวสเตย์

รูป แนวสเตย์

 

 

สเตย์คือ การหล่อคอนกรีตเสริมเหล็กยึดระหว่างเข็มของตัวเขื่อน กับเข็มสเตย์

 

 

  1. เสียบแผ่นพื้น 
  2. เทคานด้านบน และเทคานสเตย์ เข้าด้วยกัน

 

ซึ่งก่อนที่จะดำเนินการเทคานด้านบน ทางลูกค้าของเราคือคุณบ๊อบบี้ เราได้รับความไว้วางใจจากคุณบ๊อบบี้ ให้ดำเนินการก่อสร้างรั้วบนตัวสันกำแพงกันดินอีก 3 แบบ คือ

  1. กำแพงแบบทึบ เพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับเจ้าของพื้นที่
  2. กำแพงเหล็ก เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับตัวรัว
  3. กำแพงแบบเตี้ย เพิ่มจะได้ไม่บดบังทัศนียภาพบริเวณที่ติดริมน้ำ

กำแพงทึบ

รูป กำแพงทึบหลังเขื่อนกันดิน

ถ้าเห็นจากขนาดของสเตย์ และความลึกของเสาเข็มที่ได้กดลงไป จึงสามารถมั่นใจได้ว่า ตัวกำแพงอยู่ได้ยาวนาน เป็นหลายสิบ หลายร้อยปี แน่นอน

ซึ่งถ้าท่านใดสนใจ หรือว่าอยากหาที่ปรึกษาเรื่องการทำกำแพงกันดิน สามารถโทรปรึกษาได้ฟรี ที่ 062-718-8847

หรือรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับกำแพงกันดิน คลิ๊ก ที่นี่